|
|
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย สานฝันอีกขั้นสู่การเป็นผู้นำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย สานฝันอีกขั้นสู่การเป็นผู้นำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
ด้วยรางวัลเกียรติยศการบริหารจัดการท่าเรือสีเขียวระดับสากล (GPAS) บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้รับรางวัล Green Port Award System (GPAS) ประจำปี พ.ศ. 2565 บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้รับรางวัล Green Port Award System (GPAS) ประจำปี พ.ศ. 2565 จากโครงการที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาท่าเรือสีเขียวในภูมิภาคเอเปค (APEC) นับเป็นการตอกย้ำถึงปณิธานของบริษัทในการเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการท่าเรือสีเขียวและการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในระดับภูมิภาค โดยโครงการนี้ริเริ่มโดย APEC Port Services Network (APSN) เพื่อประเมินผลงานของท่าเทียบเรือต่าง ๆ ในภูมิภาคเพื่อรับรองแผนงานพัฒนาท่าเรือสีเขียวรวมถึงดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่เป็นการยกระดับศักยภาพสู่การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนตลอดทั่วทั้งภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมที่แท้จริง
ทั้งนี้ HPT ได้ผ่านเกณฑ์ตามมาตรวัดในแผนการดำเนินงานสำหรับ GPAS-2020 และเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในคู่มือประกอบการประเมินผล Guide to GPAS Expert Evaluation โดย HPT ยังนับเป็นหนึ่งในท่าเรือทั้งสิ้น 11 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลทรงเกียรตินี้อีกด้วย มร. สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและสีเขียวเป็นสิ่งที่บริษัทพยายามมาอย่างต่อเนื่อง และเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนี้ที่นับเป็นอีกก้าวสำคัญสู่เป้าหมายทางธุรกิจของเรา รางวัลนี้เป็นเสมือนการรับรองในการปฏิบัติทางด้านสิ่งแวดล้อมและความเป็นผู้นำที่โดดเด่นในด้านนี้ของเราอันสะท้อนให้เห็นได้จากพนักงานและพันธมิตรของเรา และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่เราจะทำตามคำมั่นสัญญาในการเดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ต่อไปสู่ความยั่งยืน” ภายใต้แผนกลยุทธ์ “HPT Go Green” HPT ได้ริเริ่มทำโครงการต่าง ๆ ด้วยความต้องการที่จะลดสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานประจำวันทั้งส่วนปฏิบัติการหน้าท่าและส่วนสำนักงาน ซึ่งประกอบไปด้วยการนำเครื่องจักรประหยัดพลังงาน เช่น การนำรถบรรทุกอัตโนมัติใช้พลังงานไฟฟ้ามาทำงานร่วมกับรถบรรทุกแบบทั่วไป ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า (super post panamax ship to shore cranes) และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (remote-control rubber tyred yard cranes) ที่ควบคุมจากระยะไกลและใช้พลังงานไฟฟ้า รวมถึงการค่อย ๆ ปรับลดการใช้เอกสารแบบกระดาษ การแยกประเภทขยะ ลดการใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ กล่องพลาสติกและกล่องโฟม รวมถึงการปลูกต้นไม้ ความพยายามดังกล่าวข้างต้นได้ส่งผลให้เห็นเป็นรูปธรรมจากผลประเมินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประจำปี และการลดมลภาวะทางด้านเสียงลงได้จากการใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า ไม่เพียงเท่านั้น HPT ยังได้แบ่งปันความรู้ทางด้านการพัฒนาท่าเรือเพื่อความยั่งยืนด้วยการส่งต่อสิ่งที่มีค่านี้ไปยังว่าที่พนักงานในอนาคตของบริษัทในความร่วมมือกับคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “อนาคตที่ยั่งยืนของเรา” (Our Sustainable Future) ของ HPT ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนนักศึกษาที่จะกลายเป็นบุคลากรในสายงานด้านการขนส่งทางทะเล ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาเหล่านั้นได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย |
|