JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

นำเทรนด์ผ้าครามสกลนคร บ้านดอนกอย สู่แฟชั่นระดับสากล


นำเทรนด์ผ้าครามสกลนคร บ้านดอนกอย สู่แฟชั่นระดับสากล
สกลนคร ดินแดนแห่งอารยธรรม และแหล่งประวัติศาสตร์ทางโบราณคดี จึงทำให้จังหวัดสกลนครมีจุดเด่นด้านวัฒนธรรมและวิถีชาวบ้านที่โดดเด่น โดยหนึ่งในนั้นคือวิถีการทำผ้าย้อมครามที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะผ้าครามของกลุ่มทอผ้าครามบ้านดอนกอย ตำบลสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นวิถีภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมานาน และสร้างรายได้ให้กับชุมชน
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรงานผ้าคราม หมู่บ้านดอนกอย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นหมู่บ้านผลิตผ้าย้อมคราม ชื่อดังของจังหวัดสกลนคร ด้วยพระอัจฉริยภาพด้านการออกแบบสิ่งทอของทูลกระหม่อมฯ ทรงมีพระวินิจฉัยในการพัฒนาลายผ้าและสีที่ช่างทอนิยมย้อมผ้าครามอยู่เพียงสีเดียวเท่านั้น ทำให้ผ้าไม่มีความหลากหลาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้สนองแนวพระดำริของพระองค์ท่าน ในการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย เพื่อฟื้นฟูมรดกงานศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทย จึงให้ผู้เชี่ยวชาญ ด้านผ้าไทย ลงพื้นที่พัฒนาคุณภาพเส้นใยและสี ให้เป็นที่นิยมและจำหน่ายได้ในวงกว้าง รวมถึงยกระดับการนำ Trend และ Fashion เข้าไปผสมผสานการทอผ้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายตลาดสู่สากล นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมให้สมาชิกทอผ้าจากกลุ่มต่าง ๆ ทอผ้าในช่วงโควิด-19 เป็นรายได้เสริม ตลอดจนสามารถส่งเข้าประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” อีกด้วย
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าร่วมประกวดจะต้องเป็นผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP หรือ ช่างทอผ้าทั่วไปที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นๆ ผ้าที่เข้าประกวดจะต้องเป็นผ้าลายพระราชทาน ที่เป็นผ้าพื้นถิ่นของจังหวัด และต้องเป็นผ้าจากกระบวนการทอด้วยมือและสีธรรมชาติ ทั้งนี้กรมการพัฒนาชุมชน คาดว่าจะมีผู้ส่งผ้าเข้าร่วมการประกวดไม่น้อยกว่า จำนวน 3,000 ชิ้น/ผืน โดยเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนน ไม่เพียงผ้าที่ทอต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มีความเรียบร้อย สม่ำเสมอ สีสัน ลวดลายชัดเจน สวยงาม เหมาะสม มีความคิดสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันจะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีเรื่องเล่าของผลิตภัณฑ์ได้อย่างน่าสนใจด้วย
รางวัลสำหรับการประกวดประเภทที่ 1 the best of the best รางวัลชนะเลิศมีเพียงรางวัลเดียวในแต่ละประเภท โดยจะมีการนำไปออกแบบตัดเย็บฉลองพระองค์และรางวัลเหรียญพระราชทานพร้อมสร้อยคอทองคำ ประเภทที่ 2 the best รางวัลที่ 1 ถึง 3 ใน 15 ประเภทจะได้รับรางวัลเหรียญพระราชทาน ทองคำ เงิน และนาค และประเภทที่ 3 ชมเชย TOP 10 ใน 15 ประเภทจะได้รับประกาศนียบัตร  โดยทุกผลงานจะถูกจัดแสดงในนิทรรศการผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ในงาน “ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี” ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในเดือนสิงหาคมนี้ อีกด้วย
สำหรับการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี” นับเป็นการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไทยให้เป็นที่ประจักษ์ สร้างรายได้กลับเข้าสู่ชุมชน และสร้างวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาคให้ขับเคลื่อนได้อย่างยั่งยืน
ดำเนินการประกวดผ้าลายพระราชทานในระดับภาค
ภาคกลาง ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน 2564 พื้นที่ดำเนินการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 2564 พื้นที่ดำเนินการจังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาคเหนือ ระหว่างสันที่ 17-18 มิถุนายน 2564 พื้นที่ดำเนินการจังหวัดเชียงใหม่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2564 พื้นที่ดำเนินการจังหวัดอุดรธานี
ตัดสินรอบคัดเลือก 75 ผืนสุดท้าย วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ประกาศผลรอบคัดเลือกในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ประกวดในระดับประเทศ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านผ้าไทย ที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับ ระหว่างวันที่ 27-29 กรกฎาคม 2564